ข้อมูลการรักษาเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้ลบทิ้งได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ระบุให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลได้
สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย คือสิทธิที่เจ้าของข้อมูล ขอให้ผู้ควบคุมลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและการดำเนินการนั้น
ต้องการให้โรงพยาบาล ลบประวัติการรักษา ต้องทำอย่างไร
ติดต่อเจ้าหน้าที่ dpo
ติดต่อเจ้าหน้าที่ dpo หรือเจ้าหน้าที่เวชระเบียนของโรงพยาบาล และแจ้งสิทธิในการขอลบข้อมูลการรักษา โดยสามารถหาข้อมูลการติดต่อเจ้าหน้าที่ dpo ได้ในหน้า Privacy Policy หรือ นโยบายส่วนบุคคล ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลได้
รอการติดต่อกลับ
ขั้นตอนนี้ให้เรารอเจ้าหน้าที่ dpo ติดต่อกลับเพื่อแจ้งขั้นตอนการขอลบข้อมูล โดยแต่ละโรงพยาบาลจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกัน บางโรงพยาบาลให้เราเซ็นเอกสารและส่งผ่านอีเมลได้ ในขณะที่บางโรงพยาบาล จะให้เราเข้าไปเซ็นเอกสารขอลบข้อมูลที่โรงพยาบาลเท่านั้น
โรงพยาบาลจะลบชื่อเราออกจากประวัติการรักษา
เมื่อจัดส่งเอกสารแจ้งสิทธิเรียบร้อย โรงพยาบาลจะทำการลบชื่อเราออกจากประวัติการรักษา โดยประวัติรักษาจะยังเก็บไว้กับโรงพยาบาล ตามกฏกระทรวง แต่จะไม่สามารถระบุชื่อ หรือระบุตัวตนได้ ว่าเป็นประวัติการรักษาของใคร
โรงพยาบาลจะเก็บประวัติเราไว้นานแค่ไหน
โรงพยาบาลจะเก็บประวัติการรักษาของเราไว้เป็นเวลา 10 ปี (ตามกฏของกระทรวงสาธารณสุขให้เก็บไว้ 5 ปีจากวันจัดทำ)โดยนับจากวันที่เข้าใช้บริการวันสุดท้าย ยกเว้น เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเจริญพันธ์ของทารกที่เกิดจากการอุ้มบุญ จะเก็บไว้เก็บไว้ 20 ปี นับแต่วันที่เด็กคลอด โดยหลังจากนั้นข้อมูลจะถูกทำลาย
แจ้งลบข้อมูลแล้ว หากถูกสืบประวัติ จะเกิดอะไรขึ้น
การสืบประวัติสุขภาพจะทำไม่ได้ เนื่องจากโรงพยาบาลจะไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้อีกต่อไป
ข้อมูลการรักษาถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โดยสิทธิแล้ว เราผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถขอทำการลบข้อมูลได้ ทั้งนี้ ผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการหลบเลี่ยงการตรวจสอบประวัติจากบริษัทประกัน การทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อยและสุขภาพยังดีอยู่ และไม่ปกปิดข้อมูลสุขภาพ ถือว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุดในการจัดการความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อถูกสืบประวัติสุขภาพ
ที่มาของข้อมูล