ประกันโรคร้ายแรง คือประกันที่ให้ความคุ้มครองเมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงต่างๆตามที่ระบุในแต่ละแผนประกัน การจ่ายผลประโยชน์มักจะจ่ายเป็นเงินก้อนเมื่อตรวจพบ อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้างตามระยะการจ่าย โดยหากตรวจพบระยะเริ่มต้น ผลประโยชน์ก็จะจ่ายน้อยลงเมื่อเทียบกับการตรวจพบในระยะรุนแรง
ความสับสนที่เกิดก็คือ แต่ละบริษัท แต่ละแผนประกัน จะมีจำนวนโรคที่ให้ความคุ้มครองไม่เท่ากัน บทความนี้เราจึงได้รวบรวมแผนประกันโรคร้ายแรงออนไลน์จาก 8 บริษัท นำมาเปรียบเทียบในมุมของความคุ้มครอง และรายชื่อโรคที่คุ้มครอง
หากพิจารณาทั้งในมุมมองด้านความคุ้มครอง เบี้ยประกัน และความครอบคลุมของโรคร้ายแรงแล้วนั้น เราให้คะแนนกับแผนประกัน เมืองไทยโรคร้ายแรง D Care จากเมืองไทยประกันชีวิต เต็ม 10/10 โดยแผนประกันที่ได้รับคะแนนสูงนั้น หมายถึง ได้ความคุ้มครองที่สูง ในเบี้ยประกันที่ต่ำ หรือ มีความคุ้มค่ามากกว่าแผนอื่นๆ
และนอกเหนือจากแผนประกันจากเมืองไทยประกันชีวิตแล้ว เรายังมองว่าแผนประกันจากกรุงเทพประกันชีวิตนั้น ก็มีจุดเด่นด้านความคุ้มครองสูง และสามารถต่ออายุได้ถึง 99 ปี สูงที่สุดในการเปรียบเทียบครั้งนี้ เพียงแต่อาจจะมีจุดด้อยจากโรคที่ยังไม่ครอบคลุมมากเท่ากับประกันเจ้าอื่นๆ
ค่าเบี้ยประกันที่นำมาคำนวนคะแนนครั้งนี้ เป็นเบี้ยประกันต่อปี ไม่รวมส่วนลดหรือโปรโมชั่นจากบริษัทประกันซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงเวลาครับ
สรุปการเปรียบเทียบประกันโรคร้ายแรงออนไลน์
เราให้คะแนนเต็ม 10/10 กับแผนประกัน เมืองไทยโรคร้ายแรง D Care จากเมืองไทยประกันชีวิต
แผนประกันจาก กรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งได้คะแนน 8.3/10 มีจุดเด่นด้านความคุ้มครองที่สูง และสามารถต่ออายุได้ถึง 99 ปี
แผนประกันจาก ทูนประกันภัย เป็นแผนเดียวในการเปรียบเทียบครั้งนี้ ที่ให้ความคุ้มครองโรคที่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน
แผนประกันจาก พรูเดนเชียลประกันชีวิต มีค่าเบี้ยที่ต่ำที่สุดในการเปรียบเทียบครั้งนี้ แต่ไม่คุ้มครองโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี หากคุณมีประกันโรคมะเร็งอยู่แล้ว
ส่วนรายละเอียดรายชื่อโรคที่แต่ละบริษัทรับประกัน สามารถดูได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ
สรุปรายชื่อโรคร้ายแรงของแต่ละบริษัท (คลิกที่ชื่อบริษัทได้เลย)
ซันเดย์ประกันภัย
โรคร้ายแรง 22 โรค มีดังนี้
เนื้องอกในสมอง ชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Brain Tumor)
โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย (Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung Disease)
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease requiring Angioplasty)
การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery)
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
การผ่าตัดลิ้นหัวใจ โดยวิธีการเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery for the Heart Valve)
การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
ภาวะโคม่า (Coma)
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด (Stroke Requiring Carotid Endarterectomy Surgery)
โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
ตับวาย (Chronic Liver Disease / End-stage Liver Disease / Liver Failure )
ตาบอด (Blindness)
การสูญเสียการได้ยิน (Loss of Hearing)
การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (Total Permanent Disability — TPD)
แผลไหม้ฉกรรจ์ (Major Burn)
กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต
โรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น (Early Stage Critical Illness)
โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม (Non-invasive cancer / Carcinoma in Situ)
โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ (Stroke Treatment by Carotid Angioplasty and Stent Placement)
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease requiring Angioplasty)
โรคร้ายแรงระยะรุนแรง (Major Stage Critical Illness)
โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack) ห
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุ ดท้าย (Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung disease)
ตับวาย (Chronic Liver Disease / End-stage Liver disease / Liver failure)
กรุงเทพประกันชีวิต
กลุ่มโรค: โรคมะเร็งและเนื้องอก
โรคมะเร็งระยะลุกลาม
เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
กลุ่มโรค: โรคเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด และผลสืบเนื่อง
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
กลุ่มโรค: โรคที่เกี่ยวกับอวัยวะ และระบบการทำงานที่สำคัญ
ไตวายเรื้อรัง
โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง
การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก
กลุ่มโรค: ภาวะติดเชื้อหรือการบาดเจ็บร้ายแรง
แผลไหม้ฉกรรจ์
สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
กลุ่มโรค: โรคร้ายแรงอื่น ๆ
โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
โรคพาร์กินสัน
โรคระบบประสาทมัลติเพิลสะเคลอโรสิส
โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอ
เมืองไทยประกันชีวิต
โรคมะเร็ง
โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม (Non-invasive cancer / Carcinoma in Situ)
โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
ระยะเริ่มต้น:
1. การใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ(Cardiac pacemaker implantation)
2. การตัดเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardectomy)
3. การใส่เครื่องกระตุกหัวใจ (Cardiac defibrillator)
4. โรคกล้ามเนื้อหัวใจระยะเบื้องต้น (Early Cardiomyopathy)
5. การซ่อมแซมตกแต่งหรือผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยผ่าตัดผ่านทางเส้นเลือด (Percutaneous valvuloplasty or valvotomy)
6. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจหรือซ่อมแซมเครื่องมือโดยผ่าตัดผ่านทางเส้นเลือด (Percutaneous valve replacement or device repair)
7. โรคหลอดเลือดหัวใจ ที่รักษาโดยการใช้ยา (Coronary artery disease on medical treatment)
8. โรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพองแบบไม่แสดงอาการ (Large asymptomatic aortic aneurysm)
9. การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่แบบส่องกล้อง (Minimally invasive surgery to aorta)
10. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease requiring Angioplasty)
ระยะรุนแรง:
1. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery)
2. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
3. การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery for the Heart Valve)
4. โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)
5. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนอวัยวะสำคัญ
ระยะเริ่มต้น:
1. โรคหอบหืดระดับรุนแรง (Severe Asthma)
2. การผ่าตัดตับ (Liver Surgery)
3. การผ่าตัดแก้ไขระบบท่อน้ำดี (Biliary Tract Reconstruction Surgery)
4. การผ่าตัดไตหนึ่งข้าง (Surgical Removal of One Kidney)
5. ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง (Chronic Relapsing Pancreatitis)
ระยะรุนแรง:
1. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย (Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung disease)
2. โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)
3. ตับวาย (Chronic Liver Disease /End-stage Liver disease /Liver failure )
4. โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anemia)
5. โรคถุงน้ำในไต (Medullary Cystic Disease)
6. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)
7. โรคตับอักเสบเรื้อรังจากระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (Chronic Auto-immune Hepatitis)
8. ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
9. ตับแข็ง (Cirrhosis)
กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ระยะเริ่มต้น:
1. สมองอักเสบ (Encephalitis)
2. การผ่าตัดใส่เครื่องมือระบายน้ำโพรงสมอง (Cerebral Shunt Insertion )
3. โรคพาร์กินสันระยะแรก (Early Parkinson’s Disease)
4. การสูญเสียแขนหรือขา (Loss of Use of One Limb)
5. โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
6. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)
7. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค (Tuberculosis Meningitis)
8. โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
9. การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Surgery for Idiopathic Scoliosis)
ระยะรุนแรง:
1. โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
2. ภาวะอะแพลลิก (Apallic Syndrome / Vegetative State)
3. เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign brain tumor)
4. สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Encephalitis)
5. การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Trauma)
6. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral sclerosis)
7. โรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม (Progressive Muscular Atrophy)
8. โรคกล้ามเนื้อลีบ (Progressive Muscular Atrophy)
9. อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา (Paralysis )
10. โรคอัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia)
11. การผ่าตัดสมอง (Brain Surgery)
12. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
13. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
14. โรคก้านสมองเสื่อม (Progressive Supranuclear Palsy)
15. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
16. โรคระบบประสาทมัลติเพิล สะเคลอโรสิส (Multiple Sclerosis)
17. การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน (Multiple root avulsions of Brachial Plexus)
18. โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
กลุ่มโรคอื่นๆ
ระยะเริ่มต้น:
1. ภาวะสูญเสียการได้ยินบางส่วน (Partial Loss of Hearing)
2. การเจาะคอถาวร (หรือชั่วคราว) (Permanent (or Temporary) Tracheostomy)
3. แผลไหม้เล็กน้อย /ปานกลาง (Mild / Moderate Burns)
4. การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (ระยะเบื้องต้น) (Loss of Independent Existence (Early stage))
5. ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเรื้อรัง(โรคแอดดิสัน) (Chronic Adrenal Issufficiency (Addison’s Disease))
6. การติดเชื้ออีโบล่า (Ebola Infection)
7. โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever)
ระยะรุนแรง:
1. ตาบอด (Blindness)
2. การสูญเสียการได้ยิน (Loss of Hearing)
3. การสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of speech)
4. โรคเอดส์/เอชไอวีจากการถ่ายเลือดหรือจากที่ทำงาน (AID/HIV due to Blood Transfusion, occupation)
5. เชื้อเอดส์/เอชไอวี ซึ่งเป็นผลมาจากการทำร้ายร่างกายหรือการกระทำชำเราทางเพศ (Occupationally Acquired AIDS/HIV)
6. โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง (Severe Ulcerative Colitis or Crohn’s Disease)
7. การถูกตัดขาหรือแขน (Severance of Limbs)
8. แผลไหม้ฉกรรจ์ (Major burn)
9. ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง (Severe Rheumatoid Arthritis)
10. โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย (Necrotizing Fasciitis and Gangrene)
11. การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (Total and permanent disability — TPD)
12. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรง (Severe Myasthenia Gravis)
13. โรคเท้าช้าง (Elephantiasis)
14. การสูญเสียแขนหรือขา และดวงตาข้างหนึ่ง (Loss of One Limb and Sight of One Eye)
15. เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
16. โรคระยะสุดท้าย (Terminal Illness)
17. ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส (Lupus Nephritis from Systemic Lupus Erythematosus)
18. โรคครอยตส์เฟลดต์ — จาค็อบ (Severe Creutzfeld-Jacob Disease)
กลุ่มโรคยอดฮิต
ระยะเริ่มต้น:
1. โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม (Non-invasive cancer / Carcinoma in Situ)
2.โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease requiring Angioplasty)
3. โรคหลอดเลือดหัวใจ ที่รักษาโดยการใช้ยา (Coronary artery disease on medical tratment)
4. การผ่าตัดใส่เครื่องมือระบายน้ำโพรงสมอง (Cerebral Shunt Insertion)
5. การผ่าตัดไตหนึ่งข้าง (Surgical Removal of One Kidney)
ระยะรุนแรง:
1. โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
2. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery)
3. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
4. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
5. ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
6. การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (Total and permanent disability — TPD)
7. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
รู้ใจ โดยกรุงไทยพานิช
โรคมะเร็ง
มะเร็งระยะลุกลาม และระยะไม่ลุกลาม
โรคมะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิด)
โรคมะเร็งผิวหนังอื่นๆ (รับความคุ้มครอง 200,000 สำหรับแผน 2,000,000)
โรคระบบหัวใจหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
โรคกลุ่มอาการทางระบบประสาท
ภาวะโคม่า
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด
โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
โรคพาร์กินสัน
ภาวะอวัยวะล้มเหลว
โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง
โรคปอดระยะสุดท้าย
ไตวายเรื้อรัง
เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต
โรคมะเร็ง
มะเร็งระยะลุกลาม และระยะไม่ลุกลาม
โรคมะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดร้ายแรง (Malignant Melanoma)
โรคมะเร็งผิวหนังอื่นๆ (รับความคุ้มครอง 50,000 สำหรับแผน 2,000,000)
โรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor Neuron Disease)
โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด (Cerebral Aneurysm Treatment by Endovascular Coiling)
โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด (Stroke Requiring Carotid Endarterectomy Surgery)
การอุดตันของหลอดเลือดดำ Cavernous
การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง (Cerebral Shunt Insertion)
โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
โรคก้านสมองเสื่อม (Progressive Supranuclear Palsy)
โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ/เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Pacemaker/defibrillator insertion)
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Other serious Coronary Artery Diseases)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)
การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery by-pass Surgery)
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ(Coronary Artery Disease requiring Angioplasty)
การนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (Enhanced External Counter-pulsation)
การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
การใส่สายสวนหลอดเลือดแดงรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Minimally Invasive Surgery to Aorta)
การรักษาโรคลิ้นหัวใจด้วยการสวนหลอดเลือด (Percutaneous Valve Surgery)
การผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardiectomy)
พรูเด็นเชียลประกันชีวิต
คุ้มครองโรคร้ายแรง 4 โรค
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
ไตวายเรื้อรัง
ภาวะโคม่า
ทูนประกันภัย
โรคร้ายแรงระดับเริ่มต้นถึงระดับปานกลาง
โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม (Non-invasive Cancer)
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวน หลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease requiring Angioplasty)
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด (Cerebral Aneurysm Treatment by Endovascular Coiling)
แผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย (Less severe burns / Second degree burn)
โรคร้ายแรงระดับรุนแรง(ตรวจพบ รับเงินก้อน)
โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)
ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
ตับวาย (Chronic Liver Disease / End-stage Liver disease / Liver Failure)
แผลไหม้ฉกรรจ์ (Major burn)
อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา (Paralysis)
การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Trauma)
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
เบาหวานเข้าจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy)
โคม่าจากเบาหวาน (Diabetic coma)
การสูญเสียอวัยวะจากโรคเบาหวาน (Limb amputation)
เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy)
ตรวจเจอรับเงินก้อน 300,000 บาท สำหรับแผน 4 และเฉพาะโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา ผลประโยชน์ 50% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย